การที่จะพิสูจน์ว่าผมร่วงจริงหรือไม่ แพทย์จะทำการทดสอบด้วยวิธีที่เรียกว่า Pull test เป็นการดึงเส้นผมที่หนังศีรษะประมาณ 40-60 เส้น แตกต่างกันใน 3 บริเวณ โดยปกติแล้วจะมีเส้นผมร่วงติดมือมาได้น้อยกว่า 3 เส้น ต่อการดึงหนึ่งครั้งต่อหนึ่งบริเวณที่ดึง หากพบว่ามีเส้นผมติดมือมาจำนวนมากกว่า 10 เส้น แสดงว่าเป็นผมร่วงจริง ซึ่งสาเหตุมีได้มากมาย จำต้องนำเส้นผมที่ร่วงมาส่องกล้องจุลทรรศน์ดูก่อนว่าเป็นเส้นผมระยะใด จึงทำให้สามารถแยกกลุ่มโรคได้ประกอบกับดูลักษณะของโคนเส้นผมที่ร่วง และลักษณะของหนังศีรษะที่ผมร่วงว่าเป็นอย่างไรจึงจะสามารถวินิจฉัยโรคได้
แต่โดยทั่วไปผู้ป่วยจำนวนมากที่มาพบแพทย์แล้วบอกว่าผมร่วงนั้นเป็นการร่วงปกติ ตามธรรมชาติ ตามวงจรของเส้นผมเอง ถ้าอาการผมร่วงไม่เกิน 100 เส้นต่อวันและไม่ได้ร่วงเป็นหย่อม ส่วนใหญ่จะแสดงว่าผมยังร่วงอยู่ในเกณฑ์ปกติได้
ส่วนสาเหตุของอาการผมร่วงมีมากมาย แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
1. ร่วงแบบหนังศีรษะมีแผลเป็น :
ตั้งแต่เกิดจากการติดเชื้อรา แบคทีเรีย ไวรัส ถูกสารเคมี ถูกดึงรั้ง โรคผิวหนัง เนื้องอก ภาวะจิตผิดปกติ
2. ร่วงแบบหนังศีรษะไม่มีแผลเป็น :
เป็นได้ตั้งแต่การร่วงภายหลังคลอดบุตร ร่วงเป็นหย่อม(Alopecia areata) โรคกลากบนหนังศีรษะ ติดเชื้อซิฟิสิสระยะที่ 2 สารเคมีบางประเภท ถอนผมตัวเอง ความผิดปกติของโรคต่อมไร้ท่อ ผมถูกดึงรั้งชั่วคราว โรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE) เป็นต้น หรือ เป็นแบบ Telofen effluvium
3. ผมร่วงประเภทอื่นๆ :
ประเภท ศีรษะล้านชนิดที่พบบ่อย หรือล้านมาตั้งแต่เกิด หรืออาจเกิดจากความผิดปกติของเส้นผมเองก็เป็นได้
ส่วน สาเหตุที่มากระตุ้นทำให้เกิด Telogen effluvium เป็นได้ตั้งแต่ช่วงที่ไม่สบายมีไข้สูง หลังคลอดบุตร ช่วงผ่าตัด การเสียเลือด การบริจาคเลือด การอดอาหารอย่างฉับพลัน ความเครียด การหยุดยาคุมกำเนิดภายหลังจากได้รับยาอยู่นาน โรคที่เป็นเรื้อรังบางชนิด การใช้ยาบางตัว เหล่านี้เป็นสาเหตุที่ทำให้ผมร่วงแบบนี้ได้ บางคนการร่วงเป็นอยู่ไม่นานอาจไม่ทันสังเกตด้วยซ้ำ แต่บางคนผมร่วงมากจนสังเกตได้ว่าผมบางลงมาก แต่ก็ไม่ถึงกับผมร่วงจนหมดทั้งศีรษะ ซึ่งหากส่องกล้องจุลทรรศน์ดูแล้วจะพบเส้นผมที่ร่วงอยู่ระยะ telogen มากกว่า25 % แต่ไม่เกิน 40 % และผมจะขึ้นเองภายใน 6 เดือน นอกเสียจากว่าจะมีเหตุมากระตุ้นซ้ำอีก การรักษาโดยทั่วไปไม่จำเป็น ผมจะขึ้นมาใหม่เองหากเหตุกระตุ้นหมดไป
หมายเหตุ : Telogen effluvium
คือ ภาวะที่ผมร่วงจากที่มีเหตุมากระตุ้น ทำให้ระยะวงจรของเส้นผมถูกกระตุ้นเร็วกว่าปกติ เนื่องจากว่า telogen เป็นระยะสุดท้ายของวงจรเส้นผมระยะที่สาม มีประมาณ 10-15 % ของเส้นผมบนหนังศีรษะ คงอยู่ประมาณ 3 เดือน ซึ่งระยะที่สองคือ catagen มีประมาณ 1% ของเส้นผมบนหนังศีรษะ คงอยู่ระยะสั้นๆ ประมาณ 2-3 สัปดาห์ ส่วนในระยะแรกคือ anagen เป็นระยะที่มีมากที่สุดบนหนังศีรษะคือ 85-90%%ของเส้นผมบนหนังศีรษะ โดยทั่วไปจะคงอยู่บนหนังศีรษะนาน 2-3 ปี
อ้างอิง
1. สมยศ จารุวิจิตรรัตนา. Disease of hair and hair follicles. In: ปรียา กุลละวณิชย์, ประวิตร พิศาลบุต,บรรณาธิการ. ตำราโรคผิวหนังในเวชปฏิบัติปัจจุบัน Dermatology 2010. กรุงเทพฯ: บริษัท โฮลิสติก พับลิชชิ่ง จำกัด; 2010. หน้า. 147-67.
2. “The hair pull test”. Keratin.com. Retrieved 28 March 2012.
อ้างอิง
1. สมยศ จารุวิจิตรรัตนา. Disease of hair and hair follicles. In: ปรียา กุลละวณิชย์, ประวิตร พิศาลบุต,บรรณาธิการ. ตำราโรคผิวหนังในเวชปฏิบัติปัจจุบัน Dermatology 2010. กรุงเทพฯ: บริษัท โฮลิสติก พับลิชชิ่ง จำกัด; 2010. หน้า. 147-67.
2. “The hair pull test”. Keratin.com. Retrieved 28 March 2012.
อ้างอิง
1. สมยศ จารุวิจิตรรัตนา. Disease of hair and hair follicles. In: ปรียา กุลละวณิชย์, ประวิตร พิศาลบุต,บรรณาธิการ. ตำราโรคผิวหนังในเวชปฏิบัติปัจจุบัน Dermatology 2010. กรุงเทพฯ: บริษัท โฮลิสติก พับลิชชิ่ง จำกัด; 2010. หน้า. 147-67.
2. “The hair pull test”. Keratin.com. Retrieved 28 March 2012.
อ้างอิง
1. สมยศ จารุวิจิตรรัตนา. Disease of hair and hair follicles. In: ปรียา กุลละวณิชย์, ประวิตร พิศาลบุต,บรรณาธิการ. ตำราโรคผิวหนังในเวชปฏิบัติปัจจุบัน Dermatology 2010. กรุงเทพฯ: บริษัท โฮลิสติก พับลิชชิ่ง จำกัด; 2010. หน้า. 147-67.
2. “The hair pull test”. Keratin.com. Retrieved 28 March 2012.
อ้างอิง
1. สมยศ จารุวิจิตรรัตนา. Disease of hair and hair follicles. In: ปรียา กุลละวณิชย์, ประวิตร พิศาลบุต,บรรณาธิการ. ตำราโรคผิวหนังในเวชปฏิบัติปัจจุบัน Dermatology 2010. กรุงเทพฯ: บริษัท โฮลิสติก พับลิชชิ่ง จำกัด; 2010. หน้า. 147-67.
2. “The hair pull test”. Keratin.com. Retrieved 28 March 2012.
อ้างอิง : www.smc.sut.ac.th