คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้ไม่ค่อยสนใจเรื่อง เส้นผม จนกระทั่งมีภาวะ ผมร่วง เกิดขึ้นมาก คือเวลา สระผมมองเห็น ผมร่วง เป็นกระจุกอยู่ที่ช่องระบายน้ำและตกอกตกใจ พอหยิบขึ้นมานับดูก็ยิ่งตกใจ เมื่อพบว่า ผมร่วง ตั้ง 50 เส้น บางคนอาจจะร้อง “อื้อ ฮือ มากเหลือเกิน” แต่ที่จริง ผมร่วง แค่ 50 เส้นต่อวันมันไม่มากนัก แต่เนื่องจากไม่รู้จึงตกใจ ที่จริงแล้ว ผม เส้นเล็ก ๆ ที่อยู่บนหัวของเรานี่มีรายละเอียดที่น่าสนใจมากมาย แต่คนไม่รู้จึงมองไม่เห็นเหมือน เส้นผม มันบังภูเขาเอาไว้
เส้นผม เส้นเล็ก ๆ ที่เราเห็นเรียบง่ายธรรมดา ๆ ที่จริงแล้วมันน่าทึ่ง เส้นผม เป็นส่วนหนึงคล้ายแขนขาของผิวหนัง ผม งอกมาจากเซลล์แรกเริ่มที่เรียกว่า เดอร์มัล แปปิลลา (Dermal Papilla) ซึ่งจะเจริญพัฒนาไปเป็นเซลล์ต่อม ผม (Hair Follicle) และแบ่งตัวสร้าง เส้นผม สีผม ความหยิกของผม ฯลฯ หนังศีรษะ ของคนเรามีต่อม ผม ประมาณ 80,000 ถึง 1,200,000 ต่อม พันธุกรรม เป็นตัวกำหนดจำนวน ชนิด และสีของ เส้นผม หน้าที่หลักของ เส้นผม คือ ป้องกันผิวหนัง หรือศีรษะไม่ให้เสียความร้อนมากเกินไป ส่วนความสวยงามไม่ใช่หน้าที่หลัก (แต่ในสายตาของคนหลายคน ความสวยงามคงเป็นหน้าที่หลัก มิฉะนั้นอุตสาหกรรมเสริมความงามของ เส้นผม คงจะไม่ทำเงินมากมายหลายพันล้านบาทต่อปี) ปกติ หนังศีรษะ ของคนเรามีเลือดมาเลี้ยงมาก และทำหน้าที่ควบคุมการกระจายความร้อนของร่างกาย
ผม แต่ละเส้นงอกจากเดอร์มัล แปปิลลา ไปเป็นเซลล์ที่เรียกว่า แมทริกซ์ (Matrix) ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อที่ผลิต เซลล์ผม เมื่อเซลล์นี้แบ่งตัวมาขึ้นมันจะดันเซลล์นี้ขึ้นไปข้างบนจนอยู่เหนือผิวหนัง เซลล์ ผม ที่ถูกผลักขึ้นมาเรื่อย ๆ จะค่อย ๆ ตาย ขณะเดียวกันก็ผลิตสารเคอราติน (Keratin) พอกพูนขึ้น สารเคอราตินนี้จะเรียงตัวเป็นเส้นขนาน แต่ละเส้นของเคอราตินจะถูกยึดติดกันด้วยพลังไดซัลไฟด์บอด์ (Disulfide Bond) เมื่อสารเคอราตินถูกผลักให้สูงขึ้น ๆ จะมีการเรียงตัวแบ่งออกเป็น 3 ชั้น ขัดเจนขึ้น ชั้นแกนกลางเรียกว่า เมดุลลา (Medulla) ชั้นถัดออกไปเรียกว่า คอร์เท็กซ์ (Cortex) ส่วนชั้นผิวนอกสุดเรียกว่า คิวติเคิล (Cuticle)
Medulla ชั้นเมดุลลา มีเซลล์รูปร่างกลม ๆ ระหว่างเซลล์มีช่องอากาศแทรกอยู่ ทำให้ดูคล้ายฟองน้ำ
Cortex ชั้นคอร์เท็กซ์ มีเซลล์รูปร่างกระสวย ซึ่งเป็นเซลล์ตายที่เต็มไปด้วยเคอราติน ชั้นคอร์เท็กซ์นี้เป็นชั้นที่แสดงคุณลักษณะของ ผม ไม่วาจะเป็นความอ่อนนุ่ม สีสัน และความอวบอ้วน หรือความผอมของ ผม
Cuticle ชั้นคิวติเคิล ที่อยู่นอกสุดเป็นชั้นที่ประกอบด้วยเซลล์ตายทับซ้อนกัน 7 ชั้น แต่ละเซลล์เต็มไปด้วยเคอราตินใส ๆ ส่วนคิวติเคิลนี้มีลักษณะคล้ายเกล็ดปลาผายออก (ซึ่งช่วยทำให้การดึง ผม หลุดออกมาได้ยาก) เส้นผม ส่วนที่โผล่พ้นผิวหนังขึ้นมามีแต่เซลล์ตายที่เต็มไปด้วยเคอราติน
วัฎจักรชีวิตของ เส้นผม
เส้นขนในแต่ละส่วนของร่างกายคนเราไม่เหมือนกัน คนเรามีขนหลายชนิด ภาษาไทยเรียกขนบนหัวว่า ผม แต่ขนที่อื่นเรียกว่า ขน ส่วนภาษาอังกฤษ เรียกว่า Hair หมดทุกที่ ขนที่มีเส้นหนา และทำให้แลดูดีบนศีรษะเรียกว่า ขนเทอร์มินัล (Terminal Hair) ขนชนิดนี้นอกจากพบที่หัวแล้ว อาจจะพบได้ที่รักแร้ หน้าอก เป็น ผม ชนิดที่จะมีปัญหาเมื่อขาดไปทำให้เกิดภาวะ ผมร่วง ผมบาง หรือ หัวล้าน ส่วน ผม อีกชนิดหนึ่งเรียกว่า ขนเวลลัส (Vellus Hair) เป็นขนอ่อนที่มักพบตามหน้า ตามลำตัว และแขนขาของเด็กและผู้หญิง ขนอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า ขนลานูโก (Lanugo Hair) เป็นขนอุยที่พบตามตัวทารก มักไม่มีสี แม้ว่าขนอุยนี้จะไม่มีประโยชน์อะไรมากนัก แต่เป็นต้นตอที่จะเจริญพัฒนาไปเป็นขนเทอร์มินัล หรือขนเวลลัสได้
วัฏจักรของชีวิต เส้นผม มีขั้นตอนที่มีชื่อเรียกต่างกันคือ
ระยะอานาเจน (Anagen Phase) เป็นระยะเวลางอกงามของขนซึ่งมีระยะเวลายาวนานประมาณ 3 ปี หรืออาจถึง 7 ปี (เช่นในเด็ก) เมื่อคนเราอายุมากขึ้น ระยะอะนาเจนนี้จะสั้นลง ๆ ในระยะนี้ผมของคนเราจะงอกเร็วประมาณ 1 ซ.ม. ต่อเดือน คนที่ไม่ตัดผมเลยตลอดชีวิต ก็จะมีผมยาวได้อย่างมากก็ 36 ซ.ม. (ในคนแก่) ถึง 84 ซ.ม. (ในสาว ๆ )
เมื่อสิ้นสุดระยะอะนาเจน ก็เข้าสู่ ระยะคะทาเจน (Catagen Phase) หรือระยะหยุดงอก ในระยะนี้ส่วนของเนื้อเยื่อ เดอร์มัล แปปิลลา จะแยกออกจากเมทริกซ์ ทำให้ เส้นผม ขาดอาหารมาเลี้ยง ณ ระยะนี้ต่อมผมจะหดเล็กลง แล้วจะหยุดทำงานนานประมาณ 1 สัปดาห์กว่า ๆ หลังจากนั้นก็จะเข้าสู่ ระยะเทโลเจน (Telogen Phase) หรือระยะพัก ซึ่งกินเวลาประมาณ 3 เดือน ในระยะนี้ผมจะหลุดร่วงออกไป ปกติแล้วประมาณร้อยละ 10 ของต่อมผมทั้งหมด (มีประมาณ 100,000 ต่อม) จะอยู่ในระยะนี้ในทุกขณะของชีวิตของคนเรา ผมของคนเราจึงร่วงไม่พร้อมกัน ไม่เหมือนของม้า คนเราจึงไม่มีภาวะ ศีรษะล้าน เป็นฤดูกาลเหมือนม้า เนื่องจาก ผม ของคนเราผลัดกันร่วง ผลัดกันงอกใหม่นั่นเอง
การที่ ผม ของเราจะ ร่วง บาง ล้าน เลี่ยน อย่างถาวรนั้น ขึ้นอยู่กับ 3 ปัจจัย คือ อายุ พันธุกรรม และฮอร์โมนเพศชาย ซึ่งมีรายละเอียดที่น่าสนใจอีกมาก